วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2563

Teacher Collaboration as a Mediator for Strategic Leadership and Teaching Quality

Teacher Collaboration as a Mediator for Strategic Leadership and Teaching Quality
การทำงานร่วมกันของครูในฐานะสื่อกลางสำหรับความเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์และคุณภาพการสอน

Ismail, Siti Noor; Kanesan, Abdul Ghani; Muhammad, Fazleen
International Journal of Instruction, v11 n4 p485-498 Oct 2018


ผู้นำโรงเรียนควรดำเนินการเสริมสร้างความร่วมมือในหมู่ครูอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงคุณภาพการสอนในโรงเรียนของตนซึ่งจะช่วยปรับปรุงความเป็นเลิศของโรงเรียนโดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน

Resource : ERIC

The objective of the present study was to determine whether teacher collaboration is a mediator of the strategic leadership and teaching quality in schools. This study involved 300 teachers in the high prestige secondary schools in Kelantan, Malaysia, whereby a cross-sectional survey approach using a standard questionnaire was used. The strategic leadership instrument used has been adapted from Hairuddin Ali (2012), while the collaborative instrument has been adapted from Barkema and Moran (2013). In addition, to measure the teaching quality among teachers, the researcher adapted the questionnaire that has been developed by Shahril Marzuki (2005). The findings from multiple regression analysis show that teacher collaboration is a mediator of strategic leadership and teaching quality (B=0.14, p<0.05). It was recommended among others that the school leaders should continue to strengthen collaborative practices among teachers as an effort to improve teaching quality in their respective schools which in turn will help to improve school excellence, especially across the current era of globalization.

Strategic Management and Leadership of Education: Central and Local Perspectives in Turkey

Strategic Management and Leadership of Education: Central and Local Perspectives in Turkey
การจัดการเชิงกลยุทธ์และความเป็นผู้นำด้านการศึกษา : ส่วนกลางและท้องถิ่่นในตุรกี

Kose, Esra Karabag; Kose, Mehmet Fatih
Educational Policy Analysis and Strategic Research, v14 n3 p347-365 Sep 2019


การปฏิรูปจากบนลงล่างและข้อผูกพันทางกฎหมายไม่รับประกันว่าจะมีการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารระดับสูงและระดับกลางเน้นว่าวัฒนธรรมการจัดการเชิงกลยุทธ์และการวางแผนยังไม่ได้รับการจัดตั้งขึ้นในกระทรวงศึกษาธิการและกระบวนการจัดการและการวางแผนเชิงกลยุทธ์ได้กลายเป็นรูปแบบที่อ่อนแอซึ่งเพิ่มภาระงานมากกว่าการเป็นเครื่องมือการจัดการที่มีประสิทธิภาพ 

Resource : ERIC

This study seeks to assess how Turkey's Ministry of National Education has implemented strategic management and planning by examining the views of upper-level administrators employed in Ministry's central and provincial administrative bodies concerning the strategic management which is a legal obligation for all educational institutions across the country. Semi-structured interviews were conducted with 10 upper- and middle-level administrators. The findings on participants' responses to the research questions were subject to descriptive analyses. The findings of the study are interesting as reveal that the top down reforms and legal obligations do not guarantee adequate and effective implementation in practice. Upper- and middle-level administrators emphasize that a strategic management and planning culture has not been established in Ministry of National Education and the strategic management and planning process has become a weak formality, which increases the workload rather than being an effective management tool. The study revealed that instead of strategic management and planning being to a technical process, measures need to be taken to facilitate its transformation into a cultural process. Strategic management and planning needs to consider together as a whole every stage of each process. The centralist approach should be abandoned and local mechanisms' areas of influence need to be increased. It is an important research area that more comprehensive evaluation of the centralist strategic management approach based on strategy transfer from the center to the local level.


Teacher Collaboration as a Mediator for Strategic Leadership and Teaching Quality

Developing Strategic Leadership for Administrators: Private Vocational College Study
การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหาร : วิทยาลัยอาชีวะศึกษาเอกชน

Jumnongya, Areeya; Sirisuthi, Chaiyuth; Chansirisira, Pacharawit
Educational Research and Reviews, v10 n12 p1641-1645 Jun 2015

ปัจจัยสิบสองข้อและตัวบ่งชี้ 83 ตัวถูกระบุว่ามีความสำคัญต่อความเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน การปฏิบัติตามองค์ประกอบ 5 ประการ ได้แก่ คุณธรรมจริยธรรม การทำงานเป็นทีม เทคนิคการวิเคราะห์เพื่อการเปลี่ยนแปลง ความเป็นผู้นำ และการกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ สามารถส่งเสริมผู้บริหารในภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในระดับสูง

Resource : ERIC

The purpose of this study is to study and define a number of factors measuring quality and efficiency in administrators of private vocational college, and to test and evaluate the efficiency of the strategic leadership program. Twelve factors and 83 indicators were identified as vital for strategic leadership for private vocational college administrators. These factors and indicators were employed to develop strategic leadership program and then implement with 35 administrators. It is found that the feasibility/suitability/compliance of five elements; morals, ethics, team-work, analytic technique for transformation of leadership and determining the strategic direction can promote administrators in strategic leadership at high level.

วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2563

ไฟล์บทความเรื่อง การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม และภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ฉะเชิงเทรา เขต 2

ไฟล์บทความเรื่อง การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม และภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ฉะเชิงเทรา เขต 2

https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PNRU_JHSS/article/view/42134/34804

ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับธรรมาภิบาลของผู้บริหารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2

ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับธรรมาภิบาลของผู้บริหารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2

Main Article Content

นิษฐ์วดี จิรโรจน์ภิญโญ

Abstract

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 2) ระดับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับ            ธรรมาภิบาลของผู้บริหารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ใช้สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 จำนวน 113 โรง เป็นหน่วยวิเคราะห์ (Unit of Analysis) โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน ซึ่งใช้อำเภอเป็นชั้นภูมิในการแบ่ง จากนั้นใช้วิธีการจับฉลากให้ได้จำนวนตัวอย่างที่ต้องการในแต่ละชั้นภูมิ ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ครูในโรงเรียน โรงเรียนละ 4 คน รวมทั้งสิ้น 452 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สัมพัทธ์ของเพียร์สัน (Person’s Product Moment Correlation Coefficient)
     ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ราชบุรี เขต 2 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมาก 4 ด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การไว้วางใจกัน ความผูกพันที่จะปฏิบัติ การตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน และความเป็นอิสระต่อความรับผิดชอบในงาน ตามลำดับ 2) ระดับธรรมาภิบาลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 6 ด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงมากไปหาน้อย ดังนี้ หลักคุณธรรม หลักคุณธรรม หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักนิติธรรม หลักความคุ้มค่า และหลักความโปร่งใส่ ตามลำดับ และ 3) การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับธรรมาภิบาลของผู้บริหารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 ทั้งโดยภาพรวมและรายด้าน

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมกับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมกับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1

Address: ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต.การบริหารการศึกษา
Organization : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการทำงานเป็นทีม ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมกับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้อำนวยการโรงเรียน และรองผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 168 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าสถิติ โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 มีการ ทำงานเป็นทีมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีระดับการทำงานเป็นทีมในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ ด้านการยอมรับนับถือซึ่งกันและกันด้านการมีส่วนร่วมในการทำงาน ด้านการมีเป้าหมายเดียวกัน ด้านความไว้เนื้อเชื่อใจ ด้านความมีมนุษยสัมพันธ์ และด้านการสื่อสาร ตามลำดับ 2. สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 มีการ บริหารงานวิชาการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีการบริหารงานวิชาการในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับมากไปน้อยดังนี้ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการประกันคุณภาพสถานศึกษา ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร ด้านการนิเทศการศึกษา และด้านการบริการวิชาการ ตามลำดับ 3. การทำงานเป็นทีมมีความสัมพันธ์กับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีความสัมพันธ์กันในทางบวกระดับค่อนข้างสูงAmnouy
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
Address: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Created: 2553-12-11
Modified: 2553-12-11
Issued: 2553-12-11
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
RightsAccess:

วิเคราะห์โปรแกรมระบบสารสนเทศของโรงเรียนสหกรณ์นิคมเกลือ (ระบบรายงานการใช้จ่ายประจำปี E-Budget)


ระบบรายงานการใช้จ่ายประจำปี E-Buget
(การรายงานข้อมูลการใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภค)


😊 วิธีการรายงานข้อมูลการใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภค 😊
                                                  
                                                   แบ่งระยะเวลารายงานเป็น 4 ไตรมาส ดังนี้
 👉ไตรมาสที่1  เดือนตุลาคม-ธันวาคม
👉ไตรมาสที่2 เดือนมกราคม-มีนาคม
   👉 ไตรมาสที่3 เดือนเมษายน-มิถุนายน
     👉ไตรมาสที่4 เดือนกรกฎาคม-กันยายน
    💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜

1. เข้าเว็บไซต์โดยใช้ Google chrome ที่ http://e-budget.jobobec .in.th จะเข้าสู่เว็บไซต์ระบบการติดตามผลการบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปี



2. คลิกเลือก " สำหรับสถานศึกษา " เพื่อเข้าสู่ระบบ 



3. ใส่ Username และ Password (โดยใช้รหัส Per-code 6 หลัก เช่น 350001 เลือกปีงบประมาณ 2563 คลิกเข้าสู่ระบบ



4. ปรากฏหน้าต่างให้ตรวจสอบรายชื่อโรงเรียน หากถูกต้องให้คลิก “ยืนยันโรงเรียนนี้” หากไม่ถูกต้อง คลิก “ไม่ใช่โรงเรียนที่ต้องการ” ให้โรงเรียนตรวจสอบ User และ Password ว่าถูกต้องหรือไม่



5. คลิกเลือก “รายงานค่าสาธารณูปโภค”



6. รายงานข้อมูลค่าสาธารณูปโภค เป็นรายเดือน ตั้งแต่เดือน มกราคม 2563 – มีนาคม 2563 (ไตรมาสที่2)



7. คลิกเลือกแต่ละเดือนเพื่อกรอกรายงานในระบบ ค่าไฟฟ้า/ ค่าน้ำประปา / ค่าโทรศัพท์ / ค่าไปรษณีย์ / ค่าอินเทอร์เน็ต เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จแล้ว คลิก “บันทึกข้อมูล”



8. ระบบ e-budget.jobobec.in.th บอกว่า “กรุณาตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง.. แล้วคลิก OK เพื่อบันทึกข้อมูล” ให้คลิก “ตกลง” อีกครั้ง

9. ให้โรงเรียนดำเนินการกรอกรายละเอียดตามขั้นตอนข้อ 6 ถึง ข้อ 8 จนครบทุกเดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 – มีนาคม 2563 (ไตรมาสที่2) ให้คลิก “แสดงภาพก่อนพิมพ์”

10. ให้โรงเรียนพิมพ์รายงานผลการรายงานค่าสาธารณูปโภค ปีงบประมาณ 2563 เก็บไว้ที่ โรงเรียนเพื่อเป็นหลักฐานการกรอกข้อมูล

วีดีโอจาก youtube chanel นิชาภา เหว่ย

วีดีโอจาก youtube channel นิชาภา เหว่ย